เรื่องของเสียง

เรื่องของเสียง
อันตรายที่เกิดจากเสียง
       เสียงที่เราได้ยินทุกวันนี้ ช่วยให้เราดำเนินกิจกรรมและแสวงหาความเพลิดเพลินในชีวิต เสียงที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดเสียงในระดับต่าง ๆ กัน อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
       เสียงที่เป็นอันตราย องค์การอนามัยโลกกำหนดว่า เสียงที่เป็นอันตราย หมายถึงเสียงที่ ดังเกิน85 เดซิเบลเอที่ทุกความถี่ ส่วนใหญ่พบว่า โรงงานอุตสาหกรรมมีระดับเสียงที่ดังเกิน มากกว่า 85 เดซิเบลเอ เป็นจำนวนมากซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทางกาย และจิตใจ
      เสียงรบกวน หมายถึง ระดับเสียงที่ผู้ฟังไม่ต้องการจะได้ยินเพราะสามารถกระทบต่อ อารมณ์ ความรู้สึกได้แม้จะไม่เกินเกณฑ์ ที่เป็นอันตราย แต่ก็เป็นเสียงรบกวนที่มีผลต่อผู้ฟังได้ การใช้ความรู้สึกทำวัดได้ยากกว่า เป็นเสียงรบกวนหรือไม่เช่น เสียงดนตรีที่ดังมากในสถานที่ เต้นรำไม่ทำให้ผู้ที่เข้าไปเที่ยวรู้สึกว่าถูกรบกวนแต่ในสถานที่ต้องการความสงบเช่นห้องสมุด เสียงพูดคุยตามปกติที่มีความดัง ประมาณ 60 เดซิเบลเอ ก็ถือว่าเป็นเสียงรบกวนได้
ข้อมูลเกี่ยวกับเสียง
        เกณฑ์กำหนดของระดับเสียงที่เป็นอันตราย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดมาตรฐานของระดับเสียงในสถานประกอบการ ต่าง ๆ ไว้ดังนี้คือ
             1. ได้รับเสียงไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงติดต่อกันไม่เกิน 91 เดซิเบล(เอ)
             2. ได้รับเสียงวันละ 7-8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 90 เดซิเบล(เอ)
             3. ได้รับเสียงเกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 80 เดซิเบล(เอ)
             4. นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่ ๆ มีระดับเสียงเกิน 140 เดซิเบล(เอ) ไม่ได้
ข. องค์การอนามัยโลกได้กำหนดว่าระดับเสียงที่ดังเกินกว่า 85 เดซิเบล(เอ) ถือว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์
การทำงานในที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบลเอ เป็นเวลาติดต่อกันมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน นานนับปีจะมีผลต่อมนุษย์ดังนี้
            1. ผลเสียทางกายภาพ ผลเสียโดยตรงต่อประสาทหู ก่อให้ เกิดการสูญเสียการได้ยินทั้งแบบ ชั่วคราวและแบบถาวร จนกลายเป็นความพิการได้
            2. ผลเสียทางจิตใจ เกิดความเครียดเป็นโรคจิต โรคประสาทได้ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีผลทำให้เกิดโรคกระเพาะ ความดันโลหิตสูง
            3. ผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงาน เสียงที่ดังมาก ๆ จะรบกวนการทำงาน ทำให้เสียสมาธิ เป็นเหตุ ให้เกิดอุบัติเหตุได้ และยังลดประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย
ผลเสียของเสียงที่มีต่อสภาพร่างกายและจิตใจ
การป้องกันและวิธีลดความดังของเสียง
1. ควบคุมที่แหล่งกำเนิด
     - การออกแบบอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรให้มีการทำงานที่เงียบ
     - การเลือกใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ ควรเลือกประเภทที่มีเสียงดังน้อยกว่า เช่น ใช้เครื่องปั๊มโลหะ ที่เป็นระบบไฮดรอลิกแทน เครื่องที่ใช้ระบบกล
     - การเปลี่ยนกระบวนการผลิตที่ไม่ทำให้เกิดเสียงดัง
     - การจัดหาที่ปิดล้อมเครื่องจักร โดยนำวัสดุดูดซับเสียงมาบุลงในโครงสร้าง ที่จะใช้ครอบหรือ ปิดล้อมเครื่องจักร
     - การติดตั้งเครื่องจักรให้วางในตำแหน่งที่มั่นคงเนื่องจาก เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร และการใช้อุปกรณ์กันสะเทือนจะช่วยลดเสียงได้
2. การควบคุมที่ทางผ่านของเสียง
     - เพิ่มระยะห่างระหว่างเครื่องจักร และผู้รับเสียง ทำให้มีผลต่อระดับเสียง โดยระดับเสียงจะลดลง 6 เดซิเบลเอ ทุก ๆระยะทางที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
     - การทำห้อง หรือกำแพงกั้นทางเดินของเสียง โดยออกแบบวัสดุเก็บเสียง หรือดูดซับเสียงที่ สัมพันธ์กับความถี่ของเสียง
     - การปลูกต้นไม้ยืนต้นที่มีใบดกบริเวณริมรั้ว ช่วยในการลดเสียงได้
3. การควบคุมการรับเสียงที่ผู้ฟัง
การใช้อุปกรณ์ป้องกันต่อหู เพื่อลดความดังของเสียงมี 2 แบบคือ
     - ที่ครอบหู จะปิดหู และกระดูกรอบ ๆ ใบหูไว้ทั้งหมด สามารถ ลดระดับความดังของเสียงได 20-40 เดซิเบลเอ
     - ปลั๊กอุดหู ทำด้วยยาง หรือพลาสติก ใช้สอดเข้าไปในช่องหูสามารถลดระดับความดังของ เสียงได้ 10-20 เดซิเบลเอ การลดระยะเวลาในการรับเสียงของผู้ที่อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดัง เกินมาตรฐาน โดยจำกัดให้น้อยลง
การป้องกันไม่ให้กิดประสาทหูเสื่อม จากเสียงดังคือการแก้ไขแหล่งกำเนิดเสียงดังจาก        เครื่องจักรถ้าไม่สามารถดำเนินการแก้ไขได้ให้พิจารณาการใช้อุปกรณ์เพื่อลดความเข้มของเสียงที่มากระทบกระดูกหู และแก้วหูและยังป้องกันไม่ให้เศษวัสดุบ้างอย่างกระเด็นเข้าหูได้เครื่องป้องกันหูแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ๆได้ 3 ชนิดคือ
       1.ปลั๊กอุดหู ใช้อุดหูทั้งสองข้างโดยสอดใส่ในช่องหูมักออกแบบเป็นรูปต่างๆให้มีขนาดพอดีกับรูหู จึงจะมีผลต่อการป้องกันเสียงได้ วัสดุที่ใช้ทำประกอบด้วยพลาสติกอ่อน ยางขี้ผึ้ง สำลี แต่ชนิดที่ทำจากยางและพลาสติกใช้มากที่สุด จากการวิเคราะห์พบว่าสามารถลดระดับเสียงได้ถึง 8-30 เดซิเบล
       2.ที่สอดหู เป็นชนิดที่ไม่ต้องเสียบเข้าช่องหูทำด้วยยางซิลิคอน มีขนาดพอเหมาะสวมใส่สบาย
       3. ที่ครอบหู มีลักษณะคล้ายถ้วย ใช้ปิดหูทั้งสองข้าง และติดต่อกันด้วยเส้นเหล็กหุ้มด้วยพลาสติกเป็นตัวเชื่อม วัสดุที่ใช้เป็นโฟมพลาสติกและยาง มีศักยภาพในการลดความดังได้แตกต่างกัน คือ ชนิดใช้งานหนักลดความดังเสียงได้ 40 เดซิเบล ชนิดปานกลางลดความดังเสียงได้ 35 เดซิเบล และชนิดงานเบาลดความดังได้ประมาณ 30 เดซิเบล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น